วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

“อานันท์”ห่วงแก้มาบตาพุดช้าทำศก.พังแนะรัฐทำความเข้าใจปชช.



“อานันท์” ห่วงแก้มาบตาพุดช้า เศรษฐกิจพัง- ตกงานนับหมื่น แนะรัฐสร้างความเชื่อใจกับประชาชน วอนทุกฝ่ายช่วยกันอย่าหวังพึ่งรัฐฝ่ายเดียว ภาคเอกชนต้องลุยเอง ชี้ผู้นำที่ดีต้องทำได้อย่างที่พูด ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อเวลา 20.30 น.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ร่วมงานวันนักข่าวประจำปี 2553 ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยจัดขึ้น โดยโอกาสนี้นายอานันท์ ได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “แนวทางการแก้ไขปัญหาการลงทุนกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม” มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า นายอภิสิทธิ์ ถือเป็นผู้นำทางการเมือง ส่วนตนไม่ได้เกี่ยวข้องกับระบบโดยตรง ดังนั้นค่อนข้างกระดากที่จะเป็นผู้นำทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นผู้นำด้านใดก็ตาม ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม อื่นๆ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีวุฒิภาวะด้านใดด้านหนึ่ง การจะเป็นผู้นำที่ดีนอกจากความประพฤติดี มีวิธีคิดดี ซื่อสัตย์สุจริต ไม่ใช่พูดเก่งอย่างเดียวหรือมีนโยบายดีอย่างเดียว แต่ต้องจับตามองเรื่องผลงาน ปฏิบัติตามที่ตัวเองพูดและคิดหรือเปล่า นายอานันท์ กล่าวว่า ผู้นำทางเศรษฐกิจ สังคมการเมืองคงแยกกันไม่ออก เพราะสังคมปัจจุบันแบ่งแยกกันไม่ได้ มีความเกี่ยวพันกันตลอดกาล แต่ต้องคิดอะไรมาก่อนมาหลัง ผู้นำทางการเมือง หัวหน้ารัฐบาลหน้าที่ความรับผิดชอบคืออะไร พูดง่ายต้องเป็นบริกรที่ดี ทั้งด้านการสร้างงานพัฒนาเศรษฐกิจและอีกมากมาย สังคมไทยยังไม่ยอมรับรัฐบาลคือบริกร หน้าที่ของรัฐคือเป็นผู้ให้บริการกับประชาชน อยู่ในสิ่งที่เราจัดทำ จัดสร้าง จัดหา อยู่ที่ว่าสิ่งนั้นถูกใจประชาชนหรือเปล่า ซึ่งจะทำให้สังคมสงบยั่งยืนแค่ไหน อยู่ที่ตรงนั่น สิ่งที่เราทำพูด คิดเป็นประโยชน์กับส่วนรวมหรือเปล่า ปัจจุบันชื่อเสียงการเมืองแทบจะเป็นสูญ ด้านธุรกิจก็ไม่ค่อยดี สภาก็ไม่ดี สุดท้ายความสำเร็จผู้นำอยู่ที่ประชาชนเขาเชื่อใจ ไว้วางใจเท่าใด เราทำให้เขาผิดหวังหรือเปล่า หากเขาไว้ใจการทำงานจะสะดวกขึ้นมาก นานอานันท์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันนักการเมืองไม่น้อยที่เข้ามาทำผลประโยชน์ส่วนตัว เพื่อพรรคการเมือง เพื่อคนใกล้ชิด เช่นเดียวกับภาคเอกชนที่มีการลงทุนด้านอุตสาหกรรมต่างๆ วันนี้ทุกคนทราบดีมาบตาพุดมีปัญหาอย่างไร คำถามคือเกิดจากไหน จุดเริ่มต้นอยู่ที่ใด และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะคนหรือเหตุผลอื่น ที่มีความสำเร็จในมาบตาพูดถือเป็นความสำเร็จของรัฐบาลชุดนั้น ส่วนใหญ่ข้าราชการสภาพัฒน์เป็นผู้ชงมา แบบแปลนค่อนข้างดี มีการแบ่งชัดเจนโรงงานอยู่ที่ใด ชุมชนอยู่ที่ใด เวลาผ่านไป 20 ปี บางทีวางแผนดี แต่ปฏิบัติแล้วไม่เป็นไปตามแผน ไม่ช้าไม่นานก็มีการขยับขยายสมคบกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น รัฐบาล การบุกรุกพื้นที่สีเขียว พื้นที่กันชนวันนี้แทบไม่มี ชุมชนอยู่ติดกับโรงงาน โรงงานไม่รับผิดชอบต่อสังคม สิ่งที่สัญญาโรงงานทำจริงหรือเปล่า รัฐไม่ได้ติดตาม การเฝ้าระวังเฝ้ามองไม่มีระบบ ต่างคนต่างทำ คนในสังคมสูงอาจเป็นผู้ร้ายน้อยที่สุด “ปัญหามาบตาพุดไม่ได้เกิดเมื่อสามปีที่แล้วแต่เกิดมาสิบปีแล้ว ไม่ว่าการเดินขบวนโดยกลุ่มประชาชน เอ็นจีโอหัวหอกใหญ่ รัฐในอดีตไม่ได้แก้ปัญหาขั้นพื้นฐานไม่ได้แก้ที่รากเหง้า ส่วนใหญ่ติดพาสเตอร์ ทายาแดง แค่การบรรเทาความทุกข์ ชั่วคราวเท่านั้น”นายอานันท์ กล่าว นายอานันท์ กล่าวต่อว่า องค์กรอิสระทำหน้าที่แค่ให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ ประกอบการพิจารณาของรัฐบาล อำนาจการตัดสินใจอยู่ที่รัฐจัดเวทีให้สองฝ่ายมาตีกัน การมีส่วนร่วมต้องมีส่วนร่วมตั้งแต่แรกในกระบวนการพิจารณา ส่วนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอันนั้นเป็นปลายทาง แต่เรายังเป็นสังคมที่ยังอยู่ในจังหวะของการเรียนรู้ ทางฝ่ายภาคประชาสังคมบางที่ก็ไม่รู้ต้องการอะไรกันแน่ อันนี้คงเป็นปัญหาที่จะตกไปอยู่ในสังคมไทยไปอีกนาน คณะกรรมการ 4 ฝ่ายที่นายกฯตั้งขึ้นมาที่ตนเป็นประธานคล้ายกับว่าจ้างให้เราเขียนแบบ แต่เราอาจมีข้อบกพร่องแบบนี้จะสำเร็จผลได้อยู่ที่การปฎิบัติ เราไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับคดี นายอานันท์ กล่าวว่า ตามมาตรา 67 วรรค 2 ที่จะต้องมีกลไก 4 ขา 1.การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ อีไอเอ 2.การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ หรือเอชไอเอ ออกเป็นประกาศกระทรวงทรัพยากรฯ ไปแล้ว 3.การรับฟังความคิดเห็น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แม้ยังมีปัญหาการทำความเข้าใจเท่านั้น และ4.องค์กรอิสระสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เชื่อว่าจะสามารถเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมสภาสมัยนี้ อย่างไรก็ตามต้องใช้เวลา 1 ปี ซึ่งความล่าช้าจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจทำให้ชะงักงัน ไม่ได้เสียหายทางภาคธุรกิจอย่างเดียวเท่านั้น เพราะจะมีปัญหาการว่างงานเป็นหมื่นคน เสียหายด้านจิตใจ ทุกฝ่ายได้รับความเสียหาย รัฐบาลก็เสียหาย เป็นปัญหาประเทศ ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าทางคณะกรรมการ 4 ฝ่ายกำลังเร่งจัดตั้งองค์การอิสระชั่วคราวให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายนนี้ นายอานันท์ กล่าวอีกว่า หลังจากนี้ไปเมื่อกลไกทั้ง 4 เริ่มทำงานถือว่าเป็นการเริ่มต้นศักราชใหม่ในการทำงานทั้งภาคราชการ องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคอุตสาหกรรม “ผมหวังว่านายกรัฐมนตรี รัฐบาล นักการเมือง ข้าราชการ จะสามารถกลับตัวทัน มีทัศนคติในการทำงานแบบกระตือรือร้น เอาใจใส่จริงจัง ไม่คดโกง เมื่อถึงวันนั้นผลงานจะประจักษ์ เมื่อถึงเวลานั้นพวกเราจะนอนตาหลับ เพราะจะเกิดปัญหาอย่างมาบตาพุดเกิดขึ้นอีกในประเทศไทย จะเป็นจุดเปลี่ยน ประชาชนจะไว้ใจรัฐบาล”นายอานันท์กล่าว นายอานันท์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้สิ่งที่ทางรัฐบาลจะต้องดำเนินการไม่ใช่แค่การแก้ไขปัญหามาบตาพุด แต่ต้องเป็นการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและการลดมลภาวะทั้งระบบ ทำตามกฎหมายไม่พอ ต้องทำมากกว่ากฎหมายด้วยความจริงใจ เพื่อให้เกิดความสุข ความจริงใจก็จะเกิดขึ้น นอกจากนี้ไม่ควรปล่อยให้โรงงานหรือบริษัทเอกชนปล่อยมลพิษจะต้องจ่ายภาษี ขณะที่โรงงานหรือบริษัทที่ไม่ปล่อยมลพิษควรได้สิทธิพิเศษเพื่อนำไปสู่การไม่สร้างปัญหาใหม่เกิดขึ้นแบบมาบตาพุดอีก โรงงานอุตสาหกรรมกับชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้ ถ้าตนอยากเห็นภาคเอกชนเอาจริงเอาจัง หากรัฐบาลหน่อมแน้มภาคธุรกิจต้องเป็นฝ่ายบุก อย่าหวังพึงรัฐบาลฝ่ายเดียว ทุกคนต้องตื่นตัว เตรียมตัวทำหน้าที่ของตัวเองด้วยความรับผิดชอบ

วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วาดเสือ ... ให้วัว ไป
















เสือจริง เสือหลอก ก้อยังไม่รู้ อะไรๆกับ ปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง มองงาน ก่อสร้าง ก้อออกจะเงียบไปหมด โครงการใหม่ๆ เกิดยาก ได้งานไปแล้ว เงินไม่มีทำบ้าง ได้งานมาแล้ว ต้องทำขาดทุนบ้าง รับงานมาสร้างภาพกันไป ถ้า บริษัท อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ก้อดีไป งานมาหุ้นขยับ ก้อแบบนั้น แล้ว บริษัท ธรรมดาๆ ล่ะ รับงานมาให้มีเงินหมุนสักระยะ พอทำไป พักนึง ได้ยอดหนี้ มาให้จัดการอีก ... ดูแล้วอะไรๆ คงยังไม่ขยับ ยิ่งงานใหม่ในมาบตาพุด ...










วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

งานก่อสร้าง กระทบแน่ !!! กับ ปัญหาดูไบ



ตัวหลักเลยคือกระทบความเชื่อมั่นของผู้ซื้อและนักลงทุน โครงการเมกกะโปรเจคของโลก สวรรค์ดูไบ จะกลายเป็นสวรรค์ร้างหรือเปล่ายังไม่รู้ ภาพสวรรค์สร้างได้ แต่คนที่จะไปตรงนั้น ตอนนี้ กลายเป็นนักธุรกิจ คนทำงานก่อสร้าง ภาพสวรรค์ลวงตาหายไป อะไรจะเกิดขึ้น คนไทยที่ไปทำงานก่อสร้างล่ะ จะทำงานต่อหรือกลับบ้าน ถ้ากลับมาบ้าน งานที่บ้านก้อยังไม่มีอะไรให้ทำ แล้วจะทำอะไร

วิธีแก้ปัญหา : สร้างภาพลวงตาใหม่ ขุดเลยคอคอดกระ กระทบคนในพรรคบ้าง ก้อช่างมันเถอะ

ข่าวจากเนชั่น
วิกฤติดูไบ บทเรียนนักลงทุน

29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 07:28:00
หลายปีที่ผ่านมา ความเฟื่องฟูของดูไบดูเหมือนยั้งไม่อยู่จริงๆ เพราะรัฐแห่งนี้อวดความหรูหราที่ล้นเกินตั้งแต่การมีเนินเล่นสกีในร่ม หมู่เกาะที่สร้างด้วยมือมนุษย์ อาคารสูงที่สุดในโลก และความฝันที่จะไปไกลมากกว่านี้ แต่เมื่อเวลาชำระหนี้มาถึง ปัญหาทางการเงินก็ทำหน้าที่สะท้อนความจริง ให้เห็นความหรูหราของสิ่งที่สร้างขึ้นด้วยเงินและเวลาที่หยิบยืมมาล่วงหน้า
สำนักข่าวเอพีรายงานว่าการที่บริษัทดูไบ เวิลด์ ประกาศเลื่อนชำระหนี้ 6 หมื่นล้านดอลลาร์ มีแนวโน้มจะทำให้นักลงทุนระหว่างประเทศพลอยมองประเทศอื่นในอ่าวเปอร์เซียที่ระมัดระวังในการใช้จ่ายเงิน ด้วยแววตาสงสัยไปด้วย
นักวิเคราะห์ชี้ว่า ครั้งหนึ่งนักลงทุนระหว่างประเทศเต็มใจที่จะเสี่ยงกับบรรดาประเทศในอ่าวเปอร์เซีย ส่วนใหญ่เพราะชาติเหล่านี้ร่ำรวยน้ำมัน แต่วิกฤติการเงินโลกทำให้บรรดานักลงทุนไม่ค่อยเต็มใจเสี่ยงอีกต่อไป และวิกฤติดูไบก็จะยิ่งตอกย้ำให้นักลงทุนมีท่าทีระมัดระวังมากขึ้น
"นักลงทุนต่างชาติจะแบ่งแยกโอกาสการลงทุนในอ่าวเปอร์เซีย โดยพิจารณาว่าประเทศไหนมั่งคั่งน้ำมัน และประเทศไหนไม่มั่งคั่ง" ไซมอน เฮนเดอร์สัน ผู้เชี่ยวชาญพลังงานแห่งสถาบันนโยบายตะวันออกใกล้ของสหรัฐ แสดงทัศนะ
ดูไบต่างจากซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ หรือแม้แต่อาบูดาบี ซึ่งเป็นรัฐหนึ่งของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เช่นกัน ในแง่ที่ดูไบไม่ได้มั่งคั่งจากน้ำมันมากนัก แต่บริษัทที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลซึ่งรู้จักกันในนามดูไบ อิงค์ ได้เข้าไประดมทุนในตลาดสินเชื่อเพื่อนำเงินมาอุดหนุนการเติบโตแบบละลานตา
ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รัฐเล็กๆ 1 ใน 7 ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์แห่งนี้ แปลงโฉมตัวเองเป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาค แม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยว และคนงานต่างชาติ
ดูไบสร้างตึกสูงลิบลิ่วและเนินเขาสำหรับเล่นสกี ทั้งยังสร้างบรรยากาศของการใช้ชีวิตแบบสุดขั้วซึ่งไม่มีในรัฐอื่นของยูเออีและประเทศอื่นในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นเกาะรูปต้นปาล์ม หรือเบอร์จ ดูไบ ตึกสูงที่สุดในโลก ซึ่งจะเปิดตัวในเดือนม.ค. แต่วิกฤติสินเชื่อโลกทำให้ฝันเหล่านี้สลาย มีการยกเลิกโครงการต่างๆ ขณะที่คนงานต่างชาติต้องเก็บกระเป๋ากลับบ้าน ปล่อยให้อาคารหลายหลังสร้างค้างอยู่อย่างนั้น ขณะที่อพาร์ตเมนต์จำนวนมากยังขายไม่ได้ หรืออยู่ในสภาพว่างเปล่า
ภาระหนี้โดยรวมของดูไบที่มีอย่างน้อย 8 หมื่นล้านดอลลาร์ ตอกย้ำความร้ายแรงของฐานะการเงินดูไบ ขณะที่คำกล่าวในเวลาต่อมาของเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านการเงินของดูไบที่ระบุว่าการเลื่อนชำระหนี้เป็นการตัดสินใจทางธุรกิจที่สมเหตุผล และมีการวางแผนอย่างดี ก็ไม่ได้ช่วยบรรเทาความเสียหายมากนัก
เฮนเดอร์สันชี้ว่าเป็นการตัดสินใจที่อหังการมากกรณีที่ประกาศเลื่อนชำระหนี้ก่อนถึงวันขอบคุณพระเจ้าในสหรัฐเพียงวันเดียว และก่อนเทศกาลสำคัญของอิสลาม 3 วัน
"เป็นไปไม่ได้ที่พวกเขาจะไม่ตระหนักว่าจะไม่มีคนมองว่าการประกาศดังกล่าวเป็นการสบประมาทประชาคมการเงินโลก" เฮนเดอร์สันระบุ พร้อมเสริมว่าไม่น่าประหลาดใจหากบรรดาเจ้าหนี้จะไม่มีความเห็นใจ
ทั้งนี้ ความวิตกเกี่ยวกับปัญหาหนี้มีมากขึ้น เพราะทางการดูไบไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้มากนัก นอกจากนั้น การประกาศพักหนี้ยังก่อให้เกิดความวิตกว่าถ้อยคำรับประกันที่ดูไบเอ่ยออกมาในช่วง 2-3 เดือนก่อนหน้านี้ เป็นเพียงความพยายามปกปิดความหนักหน่วงของปัญหาหรือไม่
กระนั้น อย่างน้อยข่าวคราวล่าสุดเกี่ยวกับดูไบก็เป็นเหมือนสัญญาณเตือนหรือการปลุกให้นักลงทุนหันมามองความจริง
"ปัญหาในปัจจุบันของดูไบเป็นผลสืบเนื่องอันยาวนานจากฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตกในโลก มากกว่าจุดเริ่มต้นของวิกฤติการเงินครั้งใหม่" นักวิเคราะห์ของแคปิตอล อีโคโนมิก สรุปในรายงานวิจัย ขณะที่นักวิเคราะห์รายอื่นกล่าวว่าไม่ค่อยสบายใจที่ดูไบไม่ค่อยเปิดเผยเกี่ยวกับสถานะทางการเงิน
ชีคโมฮัมเหมด บิน ราชิด อัลมักทูม เจ้าผู้ครองรัฐดูไบ ไม่สนใจเกี่ยวกับความวิตกเรื่องสภาพคล่องของดูไบมาตลอด ทั้งยังปฏิเสธมาหลายเดือนว่าความตกต่ำทางเศรษฐกิจโลกไม่ได้แม้แต่ระคายรัฐอันหรูหราแห่งนี้ โดยเมื่อ 2 เดือน ชีคมักทูมเพิ่งบอกให้คนที่วิจารณ์ดูไบ "หุบปาก"
นายเฮนริเก ไมเรลเลส ผู้ว่าการธนาคารกลางบราซิล ชี้ว่าการเลื่อนชำระหนี้ของบริษัทในดูไบ เป็นเหมือนสัญญาณเตือนให้หลีกเลี่ยงภาวะของความเพลิดเพลินใจจนลืมตัว เขาเสริมว่าไม่มีธนาคารบราซิลรายใดที่ปล่อยกู้ให้บริษัทดูไบที่ประสบปัญหา
"การฟื้นตัวดำเนินไปอย่างล่าช้า เจ็บปวด และไม่แน่นอน ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายเหตุผลที่ทำให้เราต้องตื่นตัวอยู่เสมอและไม่ลำพองใจเกินไป" นายไมเรลเลสกล่าว

หวั่น'ดูไบ'จุดชนวนผวา'หนี้ภาครัฐ'โดยเฉพาะปท.รวยที่กู้แหลกสู้วิกฤต
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 30 พฤศจิกายน 2552 07:53 น.
สถานที่ก่อสร้างแถบธุรกิจของดูไบ
เอเอฟพี – นักวิเคราะห์ชี้ปัญหา “ดูไบ เวิร์ลด์” ขอพักชำระหนี้ราว 59,000 ล้านดอลลาร์เป็นเวลา 6 เดือน นอกจากจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประเทศในกลุ่มอาหรับแล้วยังสะเทือนต่อเนื่องถึงรัฐบาลทั่วโลก โดยเฉพาะพวกประเทศร่ำรวยที่พากันก่อหนี้สาธารณะและทุ่มใช้จ่ายอย่างหนักเพื่อแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอย และขณะนี้ก็ใกล้ถึงเวลาต้องเริ่มชำระหนี้มหาศาลเหล่านั้นแล้ว

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) เตือนว่าประเทศอุตสาหกรรมของโลกทั้ง 30 ประเทศ กำลังจะได้เห็นภาระหนี้สินของพวกตนเพิ่มทวีขึ้นจนเท่ากับ100 %ของยอดส่งออกในปี 2010 ซึ่งเกือบเป็นสองเท่าตัวของเมื่อ 20 ปีก่อน

คาดการณ์กันว่าหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นจะแตะระดับ 200 %ของยอดส่งออกในปีหน้า ขณะที่อิตาลีและกรีซจะอยู่ในราว 127.3 และ 111.8 %ตามลำดับ

ทางด้าน มูดีส์ บริษัทเครดิตเรตติ้งระดับโลก ก็เผยรายงานพยากรณ์เมื่อวันพุธ (25) ว่าอัตราส่วนหนี้สินต่องบประมาณประเทศของทั่วทั้งโลกจะเพิ่มขึ้นราว 45 % ในช่วงระหว่างปี 2007-2010 หรือคิดเป็นตัวเลขของยอดหนี้รวมที่เพิ่มขึ้น ก็จะอยู่ที่ประมาณ 15.3 ล้านล้านดอลลาร์ ทำให้ยอดหนี้สาธารณะรวมทั่วโลกในปี 2010 จะอยู่ในระดับสูงกว่า 49 ล้านล้านดอลลาร์

โดยในยอดหนี้รวมที่เพิ่มขึ้น 45% ดังกล่าวนี้ กว่าสามในสี่จะเป็นของกลุ่ม 7 ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ (จี 7) เนื่องจากดุลบัญชีการคลังของชาติเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกหนักที่สุด

“เนื่องจากในปี 2009 ประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่มีอัตราการเจริญเติบโตติดลบ ดังนั้นภาระหนี้สินโดยเปรียบเทียบ จึงกำลังเป็นภาระที่ต้องแบกรับด้วยความยากลำบากมากขึ้นเรื่อยๆ” ไฮเม รอยเชอร์ นักวิเคราะห์ของมูดีส์ชี้

ขณะที่ ซินเซีย อัลซิดี นักเศรษฐศาสตร์แห่งศูนย์นโยบายศึกษาของยุโรปในกรุงบรัสเซลส์กล่าวว่า การที่ประเทศใดมีหนี้สาธารณะเป็นสัดส่วน 100 %ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ก็แปลว่าผลผลิตทั้งหมดที่ผลิตได้ตลอดทั้งปีนั้นจะเป็นส่วนที่ต้องนำไปชำระหนี้

คำถามก็คือว่า “รัฐบาลทั้งหลายอยู่ในฐานะที่จะทำเช่นนั้นได้หรือไม่”

สิ่งที่น่าหวาดหวั่นก็คือ หากตลาดการเงินเริ่มสงสัยถึงศักยภาพของประเทศต่างๆ ในการชำระหนี้ขึ้นมา พวกนักลงทุนก็จะพากันเทขายตราสารหนี้ภาครัฐทิ้ง เช่น พวกพันธบัตรรัฐบาลต่างๆ และนั่นจะทำให้รัฐบาลไม่มีเงินสดสำหรับใช้จ่าย

นักวิเคราะห์อีกส่วนหนึ่งเตือนว่า รัฐบาลที่มีหนี้สินสูงมากจะมีปัญหาเรื่องอันดับความน่าเชื่อถือตามมา ซึ่งทำให้ต้นทุนในการกู้ยืมเงินต้องเพิ่มสูงขึ้นอีก
สถานการณ์ดังกล่าว จะทำให้รัฐบาลมีความโน้มเอียงที่จะยอมขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้แก่พวกเจ้าหนี้ของประเทศ และนั่นก็ยิ่งทำให้ภาระหนี้ของรัฐบาลยิ่งสูงขึ้นไปอีก

“นี่ก็คือวิธีการในการทำระเบิดหนี้สิน” มิเชล อะกลิเอตตา แห่งกลุ่มวิจัย เซปิอี กล่าว

แดเนียล เฟอร์มอน นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโซซิเยเต เจเนราล เตือนว่า “ในกรณีร้ายแรงที่สุดนั้น” ระเบิดหนี้สินจะจุดชนวนให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยรอบใหม่ขึ้นมา

ดังนั้น โดยหลักการแล้ว การกลับไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็งจึงจะต้องลดการกู้ยืมภาครัฐลง ถึงแม้พวกนักเศรษฐศาสตร์ต่างเตือนว่าในสภาพการณ์ปัจจุบันจะยังทำเช่นนั้นไม่ได้ เพราะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะอ่อนแอก็ตาม

ภาระหนี้สินอาจบรรเทาลงได้บ้าง ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าอัตราดอกเบี้ย ทว่า หากปล่อยให้เกิดเงินเฟ้อสูงมากก็จะบั่นทอนการใช้จ่ายของผู้บริโภค และส่งผลให้ “ทุนภาคเอกชนหนีไปอยู่ในมือของประเทศที่มีภาวะเงินเฟ้อต่ำกว่า” ทางแก้ปัญหาดังกล่าวก็คือ “เพิ่มภาษีหรือลดการใช้จ่ายภาครัฐลง”

แต่ทั้งโออีซีดีและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ต่างก็ย้ำว่าหากภาครัฐหยุดการใช้จ่ายเร็วเกินไป ก็จะทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีปัญหาเช่นกัน

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หลวงพ่อเมตตา


สถานการณ์การงานโครงการต่างๆ ขณะนี้ ผันผวนในทิศทางลง กับปัญหาสิ่งแวดล้อมของมาบตาพุด คนที่อยู่ในโครงการที่กำลังดำเนินการ ก็อุ่นใจกันไปเปราะหนึ่ง แต่คนนั่งทำงานที่รองานใหม่อยู่นี่สิ ถึงคราที่ตุ๋มๆต่อมๆ คนงาน-ช่างไม้-ช่างผูกเหล็ก ไม่มีงานก้อกลับไปอยู่บ้านมีงานก้อกลับมาทำ คนที่เป็นวิศวกร เป็นบัญชี เป็นซุปเปอร์ไวเซอร์ นี่แหละอาจถึงคราลำบากกันก้อครานี้ คณะกรรมการสี่ฝ่าย ตั้งขึ้นยังช้ามาก ใครมาเป็นก้อยังไม่รู้ มีหัวแบบอดีตนายกอานันต์ ประธานคณะกรรมการร่วมฯ กว่าจะคลอดอะไรๆออกมามันต้องมีลำดับมีความชัดเจนโปร่งใส โครงการไม่เฉพาะที่มาบตาพุด แต่มันหมายถึงทุกโครงการที่มีผลกระทบกลับชุมชน ในบริเวณอื่นๆของประเทศด้วย เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้บังคับใช้เฉพาะที่มาบตาพุดเท่านั้น อะไรจะเกิดกับประเทศนี้ ... ทั้งปัญหาเศรษฐกิจปัญหาการเมือง ล้วนยังมองไม่เห็นฝั่ง ทั้งๆที่ตัวเลขดัชนีอุตสาหกรรมฟื้นตัว การใช้จ่ายภาคประชาชนเริ่มขยับตัว แต่งานก่อสร้างล่ะ คงร้องเพลงรอกันต่อไป นานแค่ไหน อยู่ที่คนหาเงินจ่ายเงินเดือนทุกๆเดือนที่ชักหน้าไม่ถึงหลัง



ขอพรจาก หลวงพ่อเมตตา ... ขออย่าได้ติดบ่วงแหแห่งความยากลำบาก เหมือนคนอื่นๆเลย ถ้าเรือจะจม ก้อขอให้มีขอนไว้เกาะจับด้วยเถิด



กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด ระยอง www.airfresh-society.co.cc








Posted by Picasa

ขอพึ่งคุณพระคุณเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์

Posted by Picasa

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ลดกำไร เพิ่มอำนาจซื้อ พร้อมกันทั้งประเทศ


ถ้าทุกภาคส่วน พร้อมกันลดกำไร 20 % ของสัดส่วนกำไรเดิม การใช้จ่ายในภาคประชาชนจะเพิ่มขึ้น ทุกภาคส่วน
-*- ลดกำไร ทำให้เศรษฐกิจชาติ แข็งแรงขึ้น -* -








วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ยุคที่ 8 กับการเป็นเสือเศรษฐกิจ ตัวใหม่ของโลก




เช้านี้ กับเสียงพรำของฝนแรกเดือนมิถุนายน ผมวิ่งขึ้นไปเก็บผ้า แล้วลงมาอุ่นกับข้าว 4-5 อย่าง กินคนเดียว มื้อเช้า กับข่าวการล้มละลายของ General Motor-GM ของอเมริกา การประชุมเอเซียน-เกาหลี โดยมีนายกอภิสิทธิ์ เป็นผู้นำการประชุม "วิกฤตควรทำให้กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำไปพร้อมๆกับ การเปลี่ยนแปลงสังคม-สิ่งแวดล้อม ที่ดี" อะไรกำลังเกิดขึ้นบนโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วขณะนี้ ผมยังเชื่อว่า ข้อมูลข้างล่างมีความจริง ที่เกิดขึ้น แม้อยู่ในสภาวะตกงานอยู่แบบนี้ก้อตาม ผมถูกมองว่าเป็นคนมองโลกในแง่มุมร้ายอยู่เสมอ แต่ผมกลับภูมิใจในความรู้สึกของการเป็นขอบเฟืองเล็กๆของนาฬิกา ผมเคยไปเจองานนำเสนอ ของ อาจารย์ธนิตสรณ์ จิระพรชัย อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่อ้างหนังสือของ Alvin Toffler ที่พูดถึง ยุคที่ 8 ตามหลักฮวงจุ้ยโลก ในหนังสือ Power Shift ที่เอเซีย จะเป็นเสือเศรษฐกิจตัวใหม่ของโลก ตั้งแต่ปี 2004-2024 (20ปี) - ความจริงที่เกิดขึ้นขณะนี้คือ บริษัทผลิตรถยนต์ ที่ใหญ่ที่สุดในโลกขณะนี้อยู่ในประเทศจีน รวมถึงการ Take Over บริษัทชั้นนำในอเมริกา โดยกลุ่มทุนจากเอเชีย ด้วย นั่นหมายถึง การถ่ายโอน เทคโนโลยี่ จากตะวันตกมาสู่ตะวันออก แล้วโลกก้อจะเปลี่ยนไป
ความสนใจเรื่ององค์ความรู้ เป็นผลพวงที่ดีของระบอบทักษิณ ผมรู้สึกอยู่เสมอว่า เราเคยมีผู้นำที่ดีที่สุด เท่าที่เคยมีมา และวันนี้ ผมยังรู้สึกว่า คนที่อดีตนายกทักษิณเกลียดที่สุด คือตัวตนของตนเอง โทษภัยร้ายของการคบคนชั่วเป็นมิตร แบบ สุวรรณ วลัยเสถียร อาจารย์ ที่เขียนหนังสือ โกงภาษีอย่างไรไม่ให้ถูกจับได้ คนแบบเนวิน ชิดชอบ ที่เคยอยู่กับกลุ่ม 16 และการล้มของ ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ คนแบบยงยุทธ ติยะไพรัช ที่ชอบใช้อำนาจจนล้นขอบ ระบอบทักษิณปูทางเรื่ององค์ความรู้ ไว้ค่อนข้างมาก กับปรับเปลี่ยน ในองคาพยพของระบบราชการ ที่มุ่งเน้นถึงประโยชน์ ของประชาชน ซึ่งจุดนี้เอง ผมว่าประเทศไทยมีความพร้อม ที่จะเปลี่ยนแปลง แบบมีนัยสำคัญ
Toffler Associates - Creating the Future. Strategy and Management ...


ผมยังรู้สึกถึง พลังงานทางเลือกแบบพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ อยู่ว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนหนึ่ง ที่จะช่วยเรื่องภาวะโลกร้อนได้ มีความยั่งยืนในการพัฒนา ...


http://sigroup.multiply.com/video/item/2 ปรัชญาดีดี - อดทน ของ อาจารย์ธนิตสรณ์ จิระพรชัย
http://202.28.50.45/UBUKM/album_group/a_2/LO-KM1.ppt งานนำเสนอที่เขียนโดย อาจารย์ธนิตสรณ์ จิระพรชัย
-*- ผมเชื่อในสิ่งที่เห็นที่เป็น มันสอดคล้องกับสิ่งที่มีคนเคยนำเสนอ : ) โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
"อาเซี่ยนทำ อาเซี่ยนกิน อาเซี่ยนใช้ อาเซี่ยนเจริญ"