วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2552

ประเมินว่ามันเลวร้าย นั่นแหละการซ้ำเติม

ความเชื่อมั่นที่จะกินที่จะใช้ ของคนที่มีเงินพอที่จะจับจ่ายได้ พลอยหยุดชะงักไปด้วย การที่องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินของโลกมาวิเคราะห์และออกมาป่าวประกาศ นั้น ไม่มีผลดีอันใดเลย มันทำให้ความเชื่อมั่นต่างๆ มันยิ่งเลวร้าย




 

ไอเอ็มเอฟระบุเศรษฐกิจโลก ปี 2009 จะดิ่งลงต่ำสุดในรอบ 60 ปี ซึ่งอาจดิ่งลงมากถึง 1.0 เปอร์เซ็นต์ 

รายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ ระบุว่า เศรษฐกิจโลก ในปี 2009 จะดิ่งลงต่ำสุด ในรอบ 60 ปี ซึ่งอาจดิ่งลงมากถึง 1.0 เปอร์เซ็นต์ และการประเมินดังกล่าวของไอเอ็มเอฟ ยังต่ำกว่าการประเมินโดยรวม ที่เพิ่งอัพเดตไปครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 28 ม.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งได้ประเมินอัตราการเจริญเติบโตเศรษฐกิจรายปี ที่ 0.5 เปอร์เซ็นต์ ไอเอ็มเอฟ ระบุว่า การดิ่งลงดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงภาวะวิกฤติการเงิน ข้อมูลด้านลบ และการขาดความเชื่อมั่น อย่างรุนแรง


อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโลก จะเริ่มค่อยๆ ดีขึ้นเพียงเล็กน้อย ในปี 2010 และมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในช่วงระหว่าง 1.5 เปอร์เซ็นต์ และ 2.5 เปอร์เซ็นต์ แต่ขณะเดียวกัน ก็ยังเสี่ยงต่อการประสบกับภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจอยู่เช่นเดิม

วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2552

ความจริงของโครงการแสนล้าน ปตท.





โครงการ แสนล้าน ของ ปตท. มีส่วนเป็นค่างาน โยธา ไม่ถึง 2,000 ล้าน เป็นส่วนงานที่ ต้อง จ้าง ผู้รับเหมาคนไทย อื่นๆ ในส่วนการติดตั้งเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆที่ยังจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างชาติ รวมกันแล้ว ทั้งหมดไม่น่าจะเกิน 3,000 ล้าน สำหรับส่วนที่คนไทยเข้าไปเกี่ยวข้องกับเม็ดเงิน แสนล้าน การใช้ตัวเลขเพื่อนำเสนอ และความเข้าใจ จึงขาดข้อเท็จจริง งานโครงการของ ปตท ทุกโครงการในมาบตาพุด แทบจะไม่มี ผู้รับเหมาคนไทย ได้ผลกำไรจากการทำงานเลย และยังมีผลขาดทุนสูงมาก รวมการขาดทุนของ ผรม.ไ ทยที่เข้ามารับงานจากบริษัทข้ามชาติ ไ ม่ต่ำกว่า 500 ล้าน อีกทั้งไ ม่มีความใส่ใจที่จะชดเชยอะไรให้อีกด้วย มีการจ้างงาน วิศวกร+พนักงาน+คนงาน ในโครงการหนึ่งๆ เฉลี่ย 2,000-2,500 คน 10 เดือน คิดเป็นค่าแรง ประมาณ 25ถึง30 ล้าน*10เดือน หรือประมาณแค่ 250ถึง300 ล้าน ในส่วนแรงงานไทย นอกนั้นเป็นค่าเครื่องจักร ค่าวัสดุ  - หรือเป็นค่าแรงงาน และค่าเครื่องจักร ที่ 30% หรือ 1000 ล้าน 

โครงการ แสนล้าน ปตท จ่ายเป็นค่าแรงงานคนไทย(ปนเ ขมร+พม่า) ประมาณ 250-300 ล้าน เท่านั้นเอง



ปตท.พับมาบตาพุดแสนล้าน โวยพิษซัลเฟอร์อ่วมค่าปรับหมื่นล.


    ปตท.เตรียมทบทวนแผนลงทุนปิโตรเคมีมาบตาพุด  1  แสนล้าน  แต่ยังเดินหน้าโรงแยกก๊าซฯ  หน่วย  7  ด้านผู้ผลิตยางยักษ์ใหญ่  "บริดจสโตน-มิชลิน"  จับมือ  สอท.เตรียมยื่นอุทธรณ์ศาลปกครองกลาง  ระเบียบใหม่สารอันตรายซัลเฟอร์เจอดีเอสไอบุกจับ  โดนภาษีย้อนหลัง  บวกค่าปรับกว่าหมื่นล้าน

     นายจิตรพงษ์   กว้างสุขสถิตย์  ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ  บริษัท  ปตท.จำกัด  (มหาชน)  เปิดเผยถึงกรณีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ  มีมติให้พื้นที่มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษว่า  ปตท.ต้องติดตามสาระและกติกาของประกาศดังกล่าว   ซึ่งยังไม่มีรายละเอียดชัดเจน  โดยเตรียมรายงานในที่ประชุมบอร์ดวันที่  20  มี.ค.นี้  จะมีโครงการไหนที่สร้างแล้ว  โครงการไหนที่ได้รับการอนุมัติแล้ว  และกำลังทยอยลงทุนมูลค่า   1.2  แสนล้านบาท  เช่น  โรงแยกก๊าซฯ  หน่วยที่  6  และส่วนต่อขยายต่างๆ  ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างยื่นอีไอเออย่างโรงแยกก๊าซฯ  หน่วยที่  7  และส่วนต่อขยาย  มูลค่าลงทุนประมาณ  1  แสนล้านบาท  ต้องรอดูความชัดเจนก่อน

     "การประกาศเขตควบคุมมลพิษที่กังวลตอนนี้  คือ  ความเข้าใจยังไม่มากพอว่ากติกาเป็นอย่างไร  เพราะหากไม่เข้าใจก็เดินต่อไม่ได้  ซึ่ง  ปตท.มีการลงทุนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปี  49  แล้ว"  นายจิตรพงษ์กล่าว

     สำหรับการก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วย  7  ยังเดินหน้าตามแผนเดิม  แต่อยู่ระหว่างการศึกษาปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติ  เนื่องจากปริมาณสำรองก๊าซฯ  จากอ่าวไทยที่ส่งป้อนให้โรงแยกก๊าซฯ  หน่วย  1-6  มีปริมาณสำรองประมาณ  20  ปี  หรือ  10  กว่าล้านล้านตัน  ซึ่งยังไม่มากพอที่จะป้อนหน่วยที่  7  เพราะต้องมีปริมาณสำรองก๊าซฯ  เพิ่มขึ้นอย่างน้อย  3-4  ล้านล้านตัน  คาดว่าน่าจะสรุปแผนภายในปลายปีนี้

     ทั้งนี้  โรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่  7  มีแผนเริ่มก่อสร้างอีก  1-2  ปี  ใช้เวลาก่อสร้าง  30  เดือน  มูลค่าการลงทุน  2  หมื่นล้านบาท  กำลังผลิต  700  ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

     นางสาวเพชรรัตน์  เอกแสงกุล  ประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมเคมี  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  (ส.อ.ท.)  กล่าวว่า  เอกชนที่ได้รับผลกระทบจากการนำเข้าสารซัลเฟอร์กำลังพิจารณายื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองกลาง  กรณีคำสั่งศาลให้ทุเลาการบังคับตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม  ที่ลงนามโดยนายชาญชัย  ชัยรุ่งเรือง  รมว.อุตสาหกรรม  เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย   โดยความเห็นของคณะกรรมการวัตถุอันตรายให้ยกเลิก  "สารซัลเฟอร์"  จากรายชื่อวัตถุอันตรายในบัญชีท้ายประกาศ  ฉบับที่  1  พ.ศ.38  ซึ่งไม่ยุติธรรม  เพราะเดิมเอกชนนำเข้ามาเป็น   10  ปี  เมื่อมีการประกาศเป็นวัตถุอัตรายในปี  49  ผู้ประกอบการนำเข้าปกติผ่านกรมศุลากรแบบถูกต้องและไม่ต้องแจ้งนำเข้าต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม  จนกระทั่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ  (ดีเอสไอ)  บุกจับระบุว่าผู้นำเข้าซัลเฟอร์  27 ราย  ทำผิดกฎหมาย  ทำให้ต้องจ่ายภาษีย้อนหลัง  2,000  กว่าล้านบาท  รวมค่าปรับอีก  4  เท่า  นับหมื่นกว่าล้านบาท

     การเข้าจับกุมของดีเอสไอกระทบต่อภาพลักษณ์การลงทุน  ที่ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่นำเข้าซัลเฟอร์มาผลิตยางรถยนต์และเคมีภัณฑ์  เช่น  บริดจสโตน  มิชลิน  โยโกฮามา  และไทยเรยอน  ซึ่งสารดังกล่าวตามหลักสากลไม่ถูกจัดเป็นวัตถุอันตรายใดๆ  แต่ที่อันตราย  คือ  สารประกอบซัลเฟอร์  โดยเฉพาะกรดซัลฟุริค.

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552

มาบตาพุด เขตปลอดมลพิษ ปี 2552




http://airfresh-society.co.cc/  หรือ http://upperspace.doubleclickspace.com/

จากปัญหาที่สะสมมาเป็นเวลานาน หลังจากการก่อสร้างท่าเรือ - นิคมมาบตาพุด มาตั้งแต่ สมัยท่านนายกเปรม แผนแม่บทต่างๆ ถูกกำหนดขึ้นแม้กระทั่ง วาระที่เป็น แผนแม่บทแห่งาติ ที่กำหนดให้พื้นที่บริเวณนี้ รองรับอุตสาหกรรมเคมี และมีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ซึ่งได้เริ่มกำหนดมาตั้งแต่ปี 2528 ากปัญหามลพิษที่เพิ่มมากทุกวัน ชาวบ้านในบริเวณมาบตาพุดมีการเจ็บป่วยล้มตาย และเป็นที่มาของ พื้นที่ที่ต้องควบคุมมลพิษ ซึ่งอันที่จริงแล้วมีในหลายจังหวัด ได้แก่ เมืองพัทยา จังหวัดภูเก็ต เฉพาะอำเภอเมืองและอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม อำเภอปราณบุรีและอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมือง อำเภอท่ายางและอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี) และจังหวัดอื่นๆ ที่ร้องขอ - ข้อมูลตั้งแต่ปี 2545 

วันนี้ มีปัญหาเศรษฐกิจ มีปัญหาความมั่นใจในการลงทุน งานก่อสร้าง งานโครงการต่างๆ หดตัวมาก การเป็น พื้นที่ควบคุม นั้น ทำให้เกิด ความล่าช้า ในการขยายโรงงานเดิม และการขออนุมัติสร้างโรงงานใหม่ และวันนี้เป็นที่ต้องจับตามองต่อไปว่า อะไรจะสำคัญกว่ากัน เงินหรือสุขภาพของประชาชน หรือ กันประชาชน ออกนอก พื้นที่ที่มีมลพิษ หรือจะทำอย่างไร ที่ให้โรงงานและชุมชนอยู่ร่วมกันได้ ในสภาวะแวดล้อมที่ดี

ยังคงต้องรอการพิจารณาจาก หลายส่วนทั้ง เอกชน / ชาวบ้าน / รัฐบาล ว่าจะทำอย่างไรต่อไป